หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

1. ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

            นุชลี อุปภัย (2551:133) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ว่า นักจิตวิทยาได้พยายามศึกษาหาคำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเกิดพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ โดยทำการศึกษา ค้นคว้า และ ทดลองจนได้ทฤษฎีที่สามารถอธิบายการเกิดพฤติกรรมต่างๆได้อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามยังไม่มีทฤษฎีใดที่จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกรูปแบบของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ในตัวเอง

            ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2551:38) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ว่าเป็นการศึกษาถึงกระบวนการที่ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้น และสถานการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้นั้น
             แสงเดือน ทวีสิน (2545:130) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างอาจไม่ได้เกิดการเรียนรู้เช่น พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเพราะความเหนื่อยหรือการได้รับบาดเจ็บ วุฒิภาวะสัญชาติญาณ การได้รับสารบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น พฤติกรรมดังกล่าวไม่เรียกว่าการเรียนรู้นักจิตวิทายาส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของประสบการณ์หรือการฝึกหัด ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการก่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยอธิบายคำว่าประสบการณ์หมายถึง เหตุการณ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น การได้ยินเสียง การเห็นภาพ การสัมผัสเป็นต้น
             สรุปได้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นการศึกษาถึงกระบวนการความคิด พฤติกรรม ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ และสถานการณ์ต่างๆจะส่งผลต่อการเรียนรู้ในสิ่งนั้นๆ แต่พฤติกรรมบางอย่างก็อาจไม่เกิดการเรียนรู้ก็ได้ เช่น พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากความเหนื่อยหรือการได้รับบาดเจ็บ สัญชาติญาณ เป็นต้น พฤติกรรมดังกล่าวนี้ไม่เรียกว่าการเรียนรู้


อ้างอิง
นุชลี อุปภัย. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : แม็ทช์พอยท์.


ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.


แสงดาว ทวีสิน. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ไทยเส็ง.










2. มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร

             นุชลี อุปภัย (2551:134) ทฤษฎีการเรียนรู้พื้นฐานที่สำคัญๆและน่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้สอน ได้แก่ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดเชื่อมโยงสำพันธ์ ทฤษฎีนี้กล่าวถึงการเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมว่าเกิดจากการเชื่อมโยงความสำพันธ์ของสองสิ่งนั้นเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติกล่าวคือ เมื่อสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นจะต้องมีสิ่งหนึ่งตามมาเสมอ ซึ่งการอธิบายลักษณะของการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงสัมพันธ์นี้ก็ยังมีหลักการอธิบายความเชื่อมโยงสัมพันธ์แต่ละมุมมองให้เห็นในชีวิตประจำวันและในชั้นเรียนมากมายหลายกรณี 2. ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดความรู้ความเข้าใจ นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งนั้นแล้วจึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามมา นักทฤษฎีกลุ่มนี้ ปฎิเสธผลของการเสริมแรงหรือการลงโทษแต่เห็นว่าการเสริมแรงและการลงโทษมิได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่เป็นเพียงข้อมูลป้อนกลับให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าทำพฤติกรรมนั้นๆอันเป็นผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจขึ้นมาใหม่

             ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2551:40) ทฤษฎีการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีดังนี้ 1. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ของพาฟลอฟ เชื่อว่าสิ่งเร้าที่เป็นกลางเกิดขึ้นพร้อมๆกับสิ่งเร้าทำให้เกิดกิริยาสะท้อนอย่างหนึ่งหลายๆครั้งสิ่งเร้าที่เป็นกลางจะทำให้เกิดกิริยาสะท้อนอย่างนั้นด้วย การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่องไขกล่าวคือการตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเรานั้นๆต้องมีเงื่องไขหรือการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้นพฤติกรรมที่เป็นผลของการเรียนรู้ในลักษณะนี้เมื่อเห็นฟ้าแลบจะได้ยินเสียงฟ้าผ่า ทั้งนี้เพราะในอดีตแสงฟ้าแลบมักจะคู่กับเสียงฟ้าผ่า เป็นต้น 2. ทฤษฎีการวางเงื่องไขด้วยการกระทำของสกินเนอร์เกิดจากแนวคิดที่ว่าเกิดความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมและผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้นทฤษฎีนี้เน้นการกระทำของผู้เรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าที่ผู้สอนกำหนดขึ้น 3. ทฤษฎีการวางเงื่องไขต่อเนื่องของกัทธรี มีแนวคิดว่าพฤติกรรมของมนุษย์มีสิ่งเร้าควมคุม และการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเรากับการตอบสนองจะเปลี่ยนไปตามกฎเกณฑ์พฤติกรรมหลายอย่างมีจุดหมายพฤติกรรมใดที่ทำซ้ำๆเกิดจากกลุ่มสิ่งเร้าเดิมทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนั้น 4. ทฤษฎีการเชื่อมโยง ของธอร์นไดด์ กล่าวว่าการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองโดยมีหลักเบื้องต้นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยแสดงในรูปแบบต่างๆจนกว่าจะเป็นที่พอใจที่เหมาะสมที่สุดซึ่งเรียกว่าการลองถูกลองผิด 5. ทฤษฎีการเรียนรู้ ของฮัลล์ หลักการทดลองของเขาใช้หลักการคณิตศาสตร์มาสร้างทฤษฎีทางจิตวิทยาอย่างมีระบบคือการต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองโดยกล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ต่างๆในรูปของคณิตศาสตร์มีการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างการจูงใจกับกลไกในการเรียนรู้และกล่าวถึงพื้นฐานของการเรียนรู้เกิดจากการเสริมแรงมากกว่าการจูงใจ 6. ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ มีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดจากการประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายมารวมกันเสียก่อนแล้วจึงพิจารนาส่วนย่อยต่อไป 7. ทฤษฎีการเรียนรู้เครื่องหมายของทอลแมนศึกษาความมุ่งหมายและความคาดหวังของมนุษย์ที่มีผลต่อพฤติกรรมแนวความคิดของการเรียนคือการให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้างหรือเครื่องหมายขึ้นและโยงความสำพันธ์ระหว่างเครื่องหมายและเป้าหมายเข้าด้วยกันและการจะบรรลุเป้าหมายก็ด้วยการกระทำของผู้เรียน
           แสงเดือน ทวีสิน (2545:131) นักจิตวิทยาที่ศึกษาในเรื่องการเรียนรู้มีมากมาย แต่ละกลุ่มพยายามทำการศึกษาทดลองเพื่อพิสูจน์วิธีการเรียนรู้ของมนุษย์กลุ่มที่เป็นที่ยอมรับและนักศึกษานำมาประยุกต์ใช้มากมีดังนี้ 1.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือเกิดการเรียนรู้นั่นเอง 2. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม นักจิตวิทยามีความคิดเห็นว่าทฤษฎีการวางเงื่องไขแบบการกระทำค่อนข้างมีขีดจำกัดในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้ ดังนั้นนักจิตวิทยาในกลุ่มนี้หลายคนจึงขยายการศึกษาออกไป โดยหันไปสนใจกระบวนการคิดที่มีผลต่อการเรียนรู้ซึ่งเราไม่สามารถจะเห็นได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น ความเชื่อ ความขาดหวัง ความคิด เป็นต้น 3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมาย กับสิ่งเร้าต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์
             สรุปได้ว่าทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้พื้นฐานสำคัญๆมี 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดเชื่อมโยงสัมพันธ์ ทฤษฎีนี้กล่าวถึงการเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมว่าเกิดจากการเชื่อมโยงความสำพันธ์ของสองสิ่งนั้นเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ 2. ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดความรู้ความเข้าใจ กลุ่มนี้เชื่อว่าความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งนั้นแล้วจึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามมา
             ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีสมมุติฐานแตกต่างกันดังนี้ 1. ทฤษฎีการวางเงื่องไข ของพาฟลอฟ เชื่อว่าสิ่งเร้าที่เป็นกลางเกิดขึ้นพร้อมๆกับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดกิริยาสะท้อนอย่างหนึ่งหลายๆครั้ง 2. ทฤษฎีการวางเงื่องไขด้วยการกระทำ ของสกินเนอร์ มีแนวคิดว่าเกิดจากความสำพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมและผลของการกระทำพฤติกรรมนั้น 3. ทฤษฎีการวางเงื่องไขต่อเนื่อง ของกัทธรี มีแนวคิดว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีสิ่งเร้าควมคุมและการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองจะเปลี่ยนไปตามกฎเกณฑ์ 4. ทฤษฎีการเชื่อมโยง ของธอร์นไดค์กล่าวว่าการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง 5. ทฤษฎีการเรียนรู้ ของฮัลล์ หลักการทดลองของเขาใช้หลักการคณิตศาสตร์มาใช้มีการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างการจูงใจกับกลไกในการเรียนรู้ 6. ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ มีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ที่กระจัดกระจายอยู่แล้วพิจารณาส่วนย่อยต่อไป 7. ทฤษฎีการเรียนรู้เครื่องหมายของทอลแมน คือการให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้าง แล้วโยงความสำพันธ์ระหว่างเครื่องหมายและเป้าหมายเข้าด้วยกัน
             ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นที่ยอมรับและนำมาใช้มาก มีดังนี้ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสำพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง 2. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมสนใจกระบวนการคิดที่มีผลต่อการเรียนรู้ซึ่งไม่สามารถจะเห็นได้โดยตรง 3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ให้ความสำคัญกับความสามารถให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆที่ได้จากประสบการณ์


อ้างอิง
นุชลี อุปภัย. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : แม็ทช์พอยท์.


ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.


แสงดาว ทวีสิน. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ไทยเส็ง.






3. นวัตกรรม คืออะไร

            สมหญิง เจริญจิตรกรรม (2529:48) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ

            ขวัญจิต ภิญโญชีพ (2534:18) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ ความคิดและวิธีการใหม่ๆที่นำมาใช้กับการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
            กิดานันท์ มลิทอง (2540:246) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ แนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยในการทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
             มอร์ตัน (2542:13) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง Renewal การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไปแต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
             นิโคลส์ และจอร์จ (2545:7) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ ความคิดใหม่มีความหมายแน่นอน เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องมากกว่าจะเปลี่ยนแปลงสั้นๆ เฉพาะจุดและต้องเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนอย่างมีระบบ
             สุภากร ราชากรกิจ (2546:26) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ การปฏิบัติหรือกรรมวิธีที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้หรือการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีทำสิ่งต่างๆให้ดีกว่าเดิม
             ปรัชญา ใจสะอาด (2551:257) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ
             ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2552:62) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ วิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมา หรือการปรับแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
              tikkatar (http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ เครื่องมือสื่อหรือวิธีการใหม่ๆที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้นจะคิดขึ้นใหม่หรือ ดัดปรับปรุงมาจากของเดิมหรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วจากที่อื่นและนำมาใช้อีก
               สรุปได้ว่านวัตกรรม คือ ความคิด วิธีการ การกระทำ และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่หรือดัดแปลง ปรับปรุงพัฒนาขึ้นมาจากของเดิมก็ได้ แล้วได้รับการทดลอง พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อถือได้ว่าจะทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย


อ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ขวัญจิต ภิญโญชีพ. (2534). หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :


วิทยาลัยครูจันทรเกษม.


ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ :


แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.


บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์.


สมหญิง เจริญจิตรกรรม. (2529). เทคโนโลยีทางการศึกษาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม :


มหาวิทยาลัยศิลปากร.


สุภากร ราชากรกิจ. (2546). นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.


เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :


มหาวิทยาลัยทักษิณ.


tikkatar (http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1)






4. นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

            สมหญิง เจริญจิตรกรรม (2529:48) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดและการกระทำใหม่ทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

            ขวัญจิต ภิญโญชีพ (2534:18) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดและวิธีการใหม่ๆที่นำมาใช้กับงานด้านการสอน เพื่อแก้ปัญหาการศึกษาและเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้ผลดีที่สุด
            กิดานันท์ มลิทอง (2540:246) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
             บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542:14) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
             สุภากร ราชากรกิจ (2546:28) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การคิดค้น และทดลองหาวิธีการใหม่ๆหรือ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
             จันทร์เพ็ญ เชื้อพาณิช (2549:19) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความใหม่ทางด้านการศึกษา อาจเป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษา เป็นทฤษฎีใหม่ เป็นวิธีสอนใหม่ เทคนิคการสอนใหม่ รวมทั้งการนำเสนอสาระด้วยสื่อใหม่ๆ
              วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:257) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การนำเอาความคิดหรือวิธีปฏิบัติทางการศึกษาใหม่ๆมาใช้กับการศึกษา
              tikkatar (http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ เครื่องมือ สื่อ แนวคิด วิธีการกระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร
              ถวัลย์ มาศจรัส (http://pennapa007.blogspot.com/2008/02/4.html) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดใหม่ๆ รูปแบบใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้รับการประยุกต์ สร้างสรรค์และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย
              สรุปได้ว่านวัตกรรมทางการศึกษา คือ เครื่องมือ สื่อ แนวคิด วิธีการ กระบวนการ รูปแบบ เทคนิค แนวทาง ผลผลิต และการกระทำใหม่ๆ หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากของเดิม นำมาใช้แก้ปัญหา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้ด้วย


อ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ขวัญจิต ภิญโญชีพ. (2534). หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :


วิทยาลัยครูจันทรเกษม.


จันทร์เพ็ญ เชื้อพาณิช. (2549). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ :


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ถวัลย์ มาศจรัส (http://pennapa007.blogspot.com/2008/02/4.html) .


บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์.


สมหญิง เจริญจิตรกรรม. (2529). เทคโนโลยีทางการศึกษาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม :


มหาวิทยาลัยศิลปากร.


สุภากร ราชากรกิจ. (2546). นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.


tikkatar (http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1) .










5. เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

           ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ (2529:9) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยีไว้ว่า เป็นการนำวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ในวงการต่างๆ หรือมาใช้ในงานสาขาต่างๆ และเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบต่างๆด้วย

           ขวัญจิต ภิญโญชีพ (2534:13) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ กระบวนการวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานเพื่อแก้ปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพของงานนั้น
           กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ (2536:5) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี เป็นการใช้วิธีการอย่างเป็นระบบตามหลักวิทยาศาสตร์หรือเป็นการจัดรวบรวมความรู้ทั้งหลาย เพื่อนำไปใช้ให้เกิดผล
           Galbraith (2540:4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ
            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2540:39) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
             สมบรูณ์ สงวนญาติ (2545:4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาความรู้ทางศาสตร์สาขาต่างๆมาประยุกต์ให้เกิดเป็นระบบที่ดี ซึ่งสามารถนำเอาไปใช้แก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             กฤตยชญ์ ขุนทอง (http://non-krittayot.blogspot.com/2008/05/blog-post.html) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หรือ หมายถึง การนำความรู้ ทักษะ และทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์
              ยูมิต้า ตำสำสู (http://yumita21.blogspot.com/2008/05/blog-post.html) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจากการศึกษาธรรมชาติเพื่อให้รู้กฎของธรรมชาติและเข้าใจธรรมชาติ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้อำนวยความสะดวกให้แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์
           ผดุงยศ ดวงมาลา (http://gotoknow.org/blog/panusak/30374) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆทางอุตสาหกรรม
            สรุปได้ว่าเทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ วัสดุ อุปกรณ์ กระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในศาสตร์ต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา และให้มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และเพื่ออำนวยความสะดวกหรือตอบสนองความต้องการของมนุษย์


อ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


กฤตยชญ์ ขุนทอง (http://non-krittayot.blogspot.com/2008/05/blog-post.html)


กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2536). เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. กรุงเทพฯ


สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.


ขวัญจิต ภิญโญชีพ. (2534). หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :


วิทยาลัยครูจันทรเกษม.


ผดุงยศ ดวงมาลา (http://gotoknow.org/blog/panusak/30374)


ยูมิต้า ตำสำสู (http://yumita21.blogspot.com/2008/05/blog-post.html)


วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์.


สมหญิง เจริญจิตรกรรม. (2529). เทคโนโลยีทางการศึกษาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม :


มหาวิทยาลัยศิลปากร.


เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :


มหาวิทยาลัยทักษิณ.


6. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

           เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ (2545:372) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การประยุกต์ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน และอุปกรณ์โทรคมนาคมโดยที่คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บและประมวลข้อมูลให้เกิดสารสนเทศสำหรับผู้ใช้ซึ่งสารสนเทศสามารถส่งและแลกเปลี่ยนโดยผ่านระบบเครือข่ายโทรคมนาคม

            วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:244) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกัน สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล และมัลติมีเดีย เกี่ยวกับความรู้โดยผ่านกระบวนการประมวลหรือ จัดทำให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวกมาใช้ประโยชน์
             konmum (http://www.konmum.com/Article/Information-Technology-id4809.aspx) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล รักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสารโทรคมนาคม
             ปฐมา จันทรพล (http://gotoknow.org/blog/patama/30371) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เน้นถึงการจัดการในกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศหรือสารนิเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์
            ยูมิต้า ตำสำสู (http://yumita21.blogspot.com/2008/05/blog-post_9889.html) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บและเผยแพร่ สารสนเทศในระบบต่างๆ เช่นภาพ เสียง เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ ถูกต้อง และรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
         สรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่เกี่ยวกับการรวบรวมประมวล รักษา และเผยแพร่ข้อมูล และสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสารโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกันสำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล และมัลติมีเดีย เกี่ยวกับความรู้โดยผ่านกระบวนการประมวลผลหรือจัดทำให้อยู่ในรูปที่มีความหมายถูกต้อง แม่นยำ มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์


อ้างอิง
ปฐมา จันทรพล (http://gotoknow.org/blog/patama/30371)


ยูมิต้า ตำสำสู (http://yumita21.blogspot.com/2008/05/blog-post_9889.html)


วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์.


เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :


มหาวิทยาลัยทักษิณ.


konmum (http://www.konmum.com/Article/Information-Technology-id4809.aspx)






7. เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

             datatan ( http://forum.datatan.net/index.php?topic=126.0 ) เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น 1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ 2. การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น 3. อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้ 4. วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN) 5. ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้ 6. การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 7. อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
             supanees ( http://www.edu.nu.ac.th/supanees/lesson/366515/unit2_p01.html ) การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการศึกษา มีหลายลักษณะคือ 1) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น "การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน" ที่จะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ตัวอย่างที่สำคัญคือ การเรียนการสอนทางไกลที่ทำให้ผู้เรียนในที่ห่างไกลในชนบทที่ด้อยโอกาส ให้มีโอกาสเท่าเทียมกับผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ในเมือง รวมทั้งการที่ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลของโลก ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือการที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนพิการสามารถมีโอกาส รับการศึกษาในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ และยังเปิดโอกาสให้คนพิการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการ ประกอบอาชีพอีกด้วย 2) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เทคโนโลยีสามารถทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การที่ผู้เรียนที่เรียนรู้โดยสามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดี รอมเพื่อตามให้ทันเพื่อน ผู้เรียนที่รับข้อมูลได้ปกติสามารถเพิ่ม ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากขึ้น จากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับโลกอย่างระบบ เวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ต ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพของการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่ หลากหลายและกว้างขวาง อย่างที่ระบบฐานข้อมูลหรือห้องสมุดเดิมไม่สามารถรองรับได้ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศยังทำให้สื่อทางเสียง สื่อข้อความ สื่อทางภาพ สามารถผนวกเข้าหากัน และนำเสนอได้อย่างน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ ไม่ว่าจะดึงข้อมูลจากสื่อที่เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม หรือจากเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีดิจิทัล และการบีบอัดสัญญาณที่ก้าวหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันข้อมูลที่มีประโยชน์ยังสามารถเก็บบันทึกและเรียกใช้ร่วมกันได้ จากคลังดิจิทัล (Digital Archive) ในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประเภทความจริงเสมือน (Virtual Reality) ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาและการฝึกอบรม 3) การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ในประเด็นนี้ได้คำนึงถึงระดับการสร้างทักษะพื้นฐาน (Literacy) การสร้างผู้สอนที่มีความรู้ที่จะใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารประกอบการเรียนการสอน การสร้างผู้มีความรู้ ความชำนาญ เฉพาะศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ในระดับต่าง ๆ เพื่อที่จะนำไปสู่การคิดค้นสร้างสรรค์เทคโนโลยี สารสนเทศ และที่จำเป็นมากสำหรับประชาชนทั่วไป คือการสร้างทักษะพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ 4) บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็น "เครือข่ายแห่งเครือข่าย" (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น การเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ทำให้บุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองต่อโลกได้ง่าย พอกับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform Resource Locator-URL) และผ่านตัวสืบค้น (Search Engines) ต่าง ๆ นอกจากนั้นการสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยสะดวก ความเร็ว และถูกต้องสมบูรณ์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบแผนกระดานข่าว (Bulletin Board) และกลุ่มอภิปราย (Discussion Groups) ต่าง ๆ ทำให้เกิดการ แลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางและทั่วถึงกันมากขึ้น รูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) นอกจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้วยังเป็นสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลทาง จิตวิทยาให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไป
               สรุปได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในการศึกษา รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนที่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น 1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอนมาใช้ช่วยสอน 2. การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการนำสื่อการเรียนการสอน มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ 3. นิเล็กทรอนิกส์บุค คือ การเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม 4. วีดิโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ คือ การประชุมทางจอภาพโดยใช้เทคโนโลยี การสื่อสารที่ทันสมัยเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล 5. ระบบวิดีโอออนดีมานด์ เป็นการอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 6. การสืบค้นข้อมูล ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน 7. อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่นๆ
           การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการศึกษา มีหลายลักษณะคือ 1) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาได้ 2) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา 3) การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ในประเด็นนี้ได้คำนึงถึงระดับการสร้างทักษะพื้นฐาน 4) บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น


อ้างอิง
datatan ( http://forum.datatan.net/index.php?topic=126.0 )


supanees ( http://www.edu.nu.ac.th/supanees/lesson/366515/unit2_p01.html )






8. สื่อการสอน คืออะไร

          สมหญิง เจริญจิตรกรรม (2529:32) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ รวมทั้งวิธีการที่ผู้สอนจะนำไปใช้ในการสอน เพื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียน

          ดวงเดือน เทศวานิช (2537:166) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อการสอน คือ ตัวกลางที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
          กิดานันท์ มลิทอง (2540:245) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อการสอน คือ สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภาพ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุ อุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดี
          เปรื่อง กุมุท (2545:238) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อการสอน คือ สิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
          รัฐกรณ์ คิดการ (2548:40) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อการสอน คือ ตัวกลางที่จะช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้ไปสู่การเรียน ช่วยอธิบายขยายความให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายจนบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
          วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:12) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อการสอน คือ วัสดุและอุปกรณ์หรือ อาจจะเป็นวิธีการที่เป็นตัวกลางการถ่ายทอดในการสื่อความหมายเพื่อให้รับรู้ ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีความเข้าใจที่ตรงกัน
          อัจฉรา วาทวัฒนศักดิ์ (http://www.shool.net.th/library/create-web/10000-13225.html) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อการสอน คือ สิ่งซึ่งใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มนุษย์รู้จักนำเอาสิ่งประดิษฐ์ต่างๆมาใช้เป็นสื่อในการสอน
          ชอร์ส (http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/107) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน
          รูฮายา (http://learners.in.th/blog/ruhaya/55800) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อการสอน คือ ตัวกลางสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงกระบวนการเรียน การสอนของเราให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สื่อการสอนไม่จำเป็นต้องเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์เสมอไป แต่มันอาจเป็นตัวหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกกระตุ้น สนใจที่จะเรียนมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นการสร้างบรรยากาศของห้องใหม่ที่ดี เปลี่ยนสไตล์การสอน ทำกิจกรรมอย่างนี้เป็นต้น
          สรุปได้ว่า สื่อการสอน คือ ตัวกลางที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการทางกายภาพ ที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียนทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้ง่ายรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจที่ตรงกัน


อ้างอิง


กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ชอร์ส (http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/107)


ชาญชัย ยมดิษฐ์. (2548). เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์.


ดวงเดือน เทศวานิช. (2537). หลักสอนทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครูพระนคร.


รูฮายา (http://learners.in.th/blog/ruhaya/55800)


วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์.


สมหญิง เจริญจิตรกรรม. (2529). เทคโนโลยีทางการศึกษาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม :


มหาวิทยาลัยศิลปากร.


อัจฉรา วาทวัฒนศักดิ์ (http://www.shool.net.th/library/create-web/10000-13225.html)


เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :


มหาวิทยาลัยทักษิณ.






9. สื่อประสม คืออะไร

              กิดานันท์ มลิทอง (2540:255) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อประสม คือ การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในการนำเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดิทัศน์ และเสียง

              เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ (2545:249) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อประสม คือ การรวบรวมการทำงานของสื่อที่มีคุณลักษณะหลายอย่างเข้าด้วยกันหรือ คือสื่อหลายชนิดที่นำมาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบสัมพันธ์กันเพื่อช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระโดยสื่อแต่ละชนิดที่นำมาใช้ต้องมีความสัมพันธ์สนับสนุนซึ่งกันและกัน
              หนูม้วน ร่มแก้ว (2551:218) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อประสม หรือ มัลติมิเดีย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ความหมาย คือ ความหมายที่หนึ่ง สื่อประสม คือ สื่อที่นำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการเรียนการสอน เป็นต้น ความหมายที่สอง สื่อประสม คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูลต่างๆทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และมีเสียงประกอบ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
              porhiso2 (http://porhiso2.blogspot.com/2007/09/blog-post.html) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อประสม คือ การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการนำเสนอข้อมูลเป็นหลักโดยได้มีการออกแบบนำเสนอไว้อย่างเป็นระบบ มัลติมีเดียนั้นได้รวมเอาฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ไว้ด้วยกันจะเน้นส่วนไหนมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน และจะเน้นจากผลผลิตที่เกิดจากการนำเสนอข้อมูลหลากรูปแบบ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และข้อความ
             ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (http://www.tke.go.th/index.aspx?pageid=115&parent=0) ได้ให้ความหมายไว้ว่า สื่อประสม หรือสื่อหลายแบบ คือ เทคโนโลยีที่จะช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถผสมผสานกันระหว่าง ข้อความ ข้อมูลตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงไว้ด้วยกัน ตลอดจนการนำเอาระบบโต้ตอบกับผู้ใช้มาผสมผสานเข้าด้วยกัน
              สรุปได้ว่าสื่อประสม คือ การนำสื่อหลายๆประเภททั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ มาใช้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนอย่างเป็นระบบสัมพันธ์กันของเนื้อหา และปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิตหรือ การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในการนำเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว ข้อมูลตัวเลข แบบวิดีทัศน์ และเสียง เข้าด้วยกัน


อ้างอิง


กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์.


ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ (http://www.tke.go.th/index.aspx?pageid=115&parent=0)


เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :


มหาวิทยาลัยทักษิณ.


porhiso2 (http://porhiso2.blogspot.com/2007/09/blog-post.html)


วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

              edtechno (http://www.edtechno.com/site/index.php?option=com_content&view=article&id=47:-adaptive-hypermedia-&catid=1:%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%93-%m-%E0%B9%91%E0%B9%96-%E0%B9%91%E0%B9%94-%M-%S&Itemid=53 )   สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบ สนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบราย บุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพ ได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1. รูปแบบหลัก (Domain Model: DM) เป็นรูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้แก่ผู้เรียน โดยรูปแบบหลัก (DM) เปรียบเสมือนคลังของข้อมูลไม่ว่าจะเป็น เนื้อหา ประวัติหรือแฟ้มข้อมูลของผู้เรียน และรูปแบบการนำเสนอข้อมูล เป็นต้น โดยรูปแบบหลัก จะเป็นการออกแบบโครงสร้างของข้อมูลที่นำเสนอที่มีความสัมพันธ์ของการออกแบบ หัวข้อ (Topics) เนื้อหา (Content) และหน้าต่างๆ (Pages) กับการเชื่อมโยงลิงค์ในการนำทาง (Navigation Links) โดยในส่วนของระบบจะประกอบด้วยกลุ่มของโหนด (Node) หรือหน้า (page) ซึ่งเชื่อมต่อ กัน โดยแต่ละโหนดหรือหน้าจะ บรรจุข้อมูลเนื้อหาซึ่งอาจมีเฉพาะข้อความหรือมีภาพและเสียงประกอบด้วย เป็นต้น ทั้งนี้รูปแบบหลัก (DM) จะให้ความสำคัญกับการออกแบบโครงสร้างของสื่อหลายมิติที่ เหมาะสมกับความต้องการและลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นหาข้อมูลหรือหัวข้อที่ต้องการ โดยการออกแบบที่ดีควรจะต้องวางโครงสร้างให้มีความสมดุล มีการเชื่อมต่อสัมพันธ์กันระหว่างรายการ (Menu) กับหน้าเนื้อหาอื่นๆ รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ ข้อความ วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯลฯ โดยรูปแบบหลักจะเป็นการวางแผนโครงสร้างเพื่อป้องกันอุปสรรคที่จะเกิดต่อผู้ ใช้ เช่น การหลงทางของผู้ใช้ ในขณะเข้าสู่เนื้อหาในจุดร่วม (Node) ต่างๆ เป็นต้น 2. รูปแบบของผู้เรียน (Student Model: SM) เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้ เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบ สนองแบบรายบุคคล ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของสื่อหลายมิติแบบปรับตัว โดยรูปแบบของผู้เรียนอาจแบ่งแยกคุณลักษณะของผู้เรียนออกเป็น ระดับความรู้ความสามารถ รูปแบบการเรียนรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลอ้างอิงของผู้เรียนต่างๆ รวมทั้งการวิเคราะห์วัตถุประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา ทั้งนี้ลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันไปจะส่งผลต่อบุคลิกภาพ พฤติกรรม การรับรู้ การจดจำ การแก้ปัญหา ความสนใจ ดังนั้นการออกแบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัวจะให้ความสำคัญกับรูปแบบและ คุณลักษณะของผู้เรียนที่สอดคล้องกับโครงสร้างหลักที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งทำให้ระบบมีความยืดหยุ่นและตรงตามความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนได้เป็น อย่างดี ซึ่งแตกต่างจากการออกแบบสื่อหลายมิติโดยทั่วไปที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้ เรียนเป็นรายบุคคล ดังนั้นในการออกแบบสื่อหลายมิติแบบปรับตัว ผู้ออกแบบจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษารูปแบบการเรียนรู้รวมทั้งพฤติกรรม การแสดงออกของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาออกแบบสื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียนในแต่ละคนได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและมีความสนใจที่ แตกต่างกัน ซึ่ง Robert Sylwester กล่าวไว้ว่า “ นักเรียนมีสมองที่ออกแบบมาต่างกัน สมองแต่ละคนแตกต่างกัน เช่นเดียวกับลายนิ้วมือและใบหน้า ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับแบบการเรียนหรือวิธีการเรียน รู้ของนักเรียนแบบต่าง ๆ 3. รูปแบบการปรับตัว (Adaptive Model: AM) เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก (Domain Model) และรูปแบบของผู้เรียน (User Model) โดยรูปแบบการปรับตัวเป็นการพัฒนาโปรแกรมหรือระบบที่สามารถนำมาปรับใช้ในสื่อ หลายมิติแบบปรับตัวได้ เช่น ภาษา Java หรือ Javascript , XML , SCORM โดยส่วนใหญ่นิยมพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็บเป็นฐาน (Web-Based Instruction) หรือระบบบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System-LMS) ภายใต้สภาพแวดล้อมเสมือน
             สรุปได้ว่า รูปแบบสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วย 1. รูปแบบหลัก เป็นรูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้แก่ผู้เรียน เปรียบเสมือนคลังของข้อมูล 2. รูปแบบของผู้เรียน เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้ เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบ สนองแบบรายบุคคล 3. รูปแบบการปรับตัว เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก และรูปแบบของผู้เรียน

อ้างอิง
edtechno (http://www.edtechno.com/site/index.php?option=com_content&view=article&id=47:-adaptive-hypermedia-&catid=1:%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%93-%m-%E0%B9%91%E0%B9%96-%E0%B9%91%E0%B9%94-%M-%S&Itemid=53 )