หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

3. นวัตกรรม คืออะไร

            สมหญิง เจริญจิตรกรรม (2529:48) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ

            ขวัญจิต ภิญโญชีพ (2534:18) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ ความคิดและวิธีการใหม่ๆที่นำมาใช้กับการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
            กิดานันท์ มลิทอง (2540:246) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ แนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยในการทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
             มอร์ตัน (2542:13) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง Renewal การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไปแต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
             นิโคลส์ และจอร์จ (2545:7) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ ความคิดใหม่มีความหมายแน่นอน เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องมากกว่าจะเปลี่ยนแปลงสั้นๆ เฉพาะจุดและต้องเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนอย่างมีระบบ
             สุภากร ราชากรกิจ (2546:26) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ การปฏิบัติหรือกรรมวิธีที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้หรือการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีทำสิ่งต่างๆให้ดีกว่าเดิม
             ปรัชญา ใจสะอาด (2551:257) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ
             ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2552:62) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ วิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมา หรือการปรับแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
              tikkatar (http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรม คือ เครื่องมือสื่อหรือวิธีการใหม่ๆที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้นจะคิดขึ้นใหม่หรือ ดัดปรับปรุงมาจากของเดิมหรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วจากที่อื่นและนำมาใช้อีก
               สรุปได้ว่านวัตกรรม คือ ความคิด วิธีการ การกระทำ และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่หรือดัดแปลง ปรับปรุงพัฒนาขึ้นมาจากของเดิมก็ได้ แล้วได้รับการทดลอง พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อถือได้ว่าจะทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย


อ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ขวัญจิต ภิญโญชีพ. (2534). หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :


วิทยาลัยครูจันทรเกษม.


ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ :


แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.


บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์.


สมหญิง เจริญจิตรกรรม. (2529). เทคโนโลยีทางการศึกษาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม :


มหาวิทยาลัยศิลปากร.


สุภากร ราชากรกิจ. (2546). นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.


เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :


มหาวิทยาลัยทักษิณ.


tikkatar (http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1)






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น