หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

2. มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร

             นุชลี อุปภัย (2551:134) ทฤษฎีการเรียนรู้พื้นฐานที่สำคัญๆและน่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้สอน ได้แก่ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดเชื่อมโยงสำพันธ์ ทฤษฎีนี้กล่าวถึงการเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมว่าเกิดจากการเชื่อมโยงความสำพันธ์ของสองสิ่งนั้นเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติกล่าวคือ เมื่อสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นจะต้องมีสิ่งหนึ่งตามมาเสมอ ซึ่งการอธิบายลักษณะของการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงสัมพันธ์นี้ก็ยังมีหลักการอธิบายความเชื่อมโยงสัมพันธ์แต่ละมุมมองให้เห็นในชีวิตประจำวันและในชั้นเรียนมากมายหลายกรณี 2. ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดความรู้ความเข้าใจ นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งนั้นแล้วจึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามมา นักทฤษฎีกลุ่มนี้ ปฎิเสธผลของการเสริมแรงหรือการลงโทษแต่เห็นว่าการเสริมแรงและการลงโทษมิได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่เป็นเพียงข้อมูลป้อนกลับให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าทำพฤติกรรมนั้นๆอันเป็นผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจขึ้นมาใหม่

             ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2551:40) ทฤษฎีการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีดังนี้ 1. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ของพาฟลอฟ เชื่อว่าสิ่งเร้าที่เป็นกลางเกิดขึ้นพร้อมๆกับสิ่งเร้าทำให้เกิดกิริยาสะท้อนอย่างหนึ่งหลายๆครั้งสิ่งเร้าที่เป็นกลางจะทำให้เกิดกิริยาสะท้อนอย่างนั้นด้วย การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่องไขกล่าวคือการตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเรานั้นๆต้องมีเงื่องไขหรือการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้นพฤติกรรมที่เป็นผลของการเรียนรู้ในลักษณะนี้เมื่อเห็นฟ้าแลบจะได้ยินเสียงฟ้าผ่า ทั้งนี้เพราะในอดีตแสงฟ้าแลบมักจะคู่กับเสียงฟ้าผ่า เป็นต้น 2. ทฤษฎีการวางเงื่องไขด้วยการกระทำของสกินเนอร์เกิดจากแนวคิดที่ว่าเกิดความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมและผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้นทฤษฎีนี้เน้นการกระทำของผู้เรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าที่ผู้สอนกำหนดขึ้น 3. ทฤษฎีการวางเงื่องไขต่อเนื่องของกัทธรี มีแนวคิดว่าพฤติกรรมของมนุษย์มีสิ่งเร้าควมคุม และการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเรากับการตอบสนองจะเปลี่ยนไปตามกฎเกณฑ์พฤติกรรมหลายอย่างมีจุดหมายพฤติกรรมใดที่ทำซ้ำๆเกิดจากกลุ่มสิ่งเร้าเดิมทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนั้น 4. ทฤษฎีการเชื่อมโยง ของธอร์นไดด์ กล่าวว่าการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองโดยมีหลักเบื้องต้นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยแสดงในรูปแบบต่างๆจนกว่าจะเป็นที่พอใจที่เหมาะสมที่สุดซึ่งเรียกว่าการลองถูกลองผิด 5. ทฤษฎีการเรียนรู้ ของฮัลล์ หลักการทดลองของเขาใช้หลักการคณิตศาสตร์มาสร้างทฤษฎีทางจิตวิทยาอย่างมีระบบคือการต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองโดยกล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ต่างๆในรูปของคณิตศาสตร์มีการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างการจูงใจกับกลไกในการเรียนรู้และกล่าวถึงพื้นฐานของการเรียนรู้เกิดจากการเสริมแรงมากกว่าการจูงใจ 6. ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ มีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดจากการประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายมารวมกันเสียก่อนแล้วจึงพิจารนาส่วนย่อยต่อไป 7. ทฤษฎีการเรียนรู้เครื่องหมายของทอลแมนศึกษาความมุ่งหมายและความคาดหวังของมนุษย์ที่มีผลต่อพฤติกรรมแนวความคิดของการเรียนคือการให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้างหรือเครื่องหมายขึ้นและโยงความสำพันธ์ระหว่างเครื่องหมายและเป้าหมายเข้าด้วยกันและการจะบรรลุเป้าหมายก็ด้วยการกระทำของผู้เรียน
           แสงเดือน ทวีสิน (2545:131) นักจิตวิทยาที่ศึกษาในเรื่องการเรียนรู้มีมากมาย แต่ละกลุ่มพยายามทำการศึกษาทดลองเพื่อพิสูจน์วิธีการเรียนรู้ของมนุษย์กลุ่มที่เป็นที่ยอมรับและนักศึกษานำมาประยุกต์ใช้มากมีดังนี้ 1.ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือเกิดการเรียนรู้นั่นเอง 2. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม นักจิตวิทยามีความคิดเห็นว่าทฤษฎีการวางเงื่องไขแบบการกระทำค่อนข้างมีขีดจำกัดในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้ ดังนั้นนักจิตวิทยาในกลุ่มนี้หลายคนจึงขยายการศึกษาออกไป โดยหันไปสนใจกระบวนการคิดที่มีผลต่อการเรียนรู้ซึ่งเราไม่สามารถจะเห็นได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น ความเชื่อ ความขาดหวัง ความคิด เป็นต้น 3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมาย กับสิ่งเร้าต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์
             สรุปได้ว่าทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้พื้นฐานสำคัญๆมี 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดเชื่อมโยงสัมพันธ์ ทฤษฎีนี้กล่าวถึงการเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมว่าเกิดจากการเชื่อมโยงความสำพันธ์ของสองสิ่งนั้นเข้าด้วยกันโดยอัตโนมัติ 2. ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดความรู้ความเข้าใจ กลุ่มนี้เชื่อว่าความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งนั้นแล้วจึงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามมา
             ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีสมมุติฐานแตกต่างกันดังนี้ 1. ทฤษฎีการวางเงื่องไข ของพาฟลอฟ เชื่อว่าสิ่งเร้าที่เป็นกลางเกิดขึ้นพร้อมๆกับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดกิริยาสะท้อนอย่างหนึ่งหลายๆครั้ง 2. ทฤษฎีการวางเงื่องไขด้วยการกระทำ ของสกินเนอร์ มีแนวคิดว่าเกิดจากความสำพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมและผลของการกระทำพฤติกรรมนั้น 3. ทฤษฎีการวางเงื่องไขต่อเนื่อง ของกัทธรี มีแนวคิดว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีสิ่งเร้าควมคุมและการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองจะเปลี่ยนไปตามกฎเกณฑ์ 4. ทฤษฎีการเชื่อมโยง ของธอร์นไดค์กล่าวว่าการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง 5. ทฤษฎีการเรียนรู้ ของฮัลล์ หลักการทดลองของเขาใช้หลักการคณิตศาสตร์มาใช้มีการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างการจูงใจกับกลไกในการเรียนรู้ 6. ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ มีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ที่กระจัดกระจายอยู่แล้วพิจารณาส่วนย่อยต่อไป 7. ทฤษฎีการเรียนรู้เครื่องหมายของทอลแมน คือการให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้าง แล้วโยงความสำพันธ์ระหว่างเครื่องหมายและเป้าหมายเข้าด้วยกัน
             ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นที่ยอมรับและนำมาใช้มาก มีดังนี้ 1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสำพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง 2. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมสนใจกระบวนการคิดที่มีผลต่อการเรียนรู้ซึ่งไม่สามารถจะเห็นได้โดยตรง 3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ให้ความสำคัญกับความสามารถให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆที่ได้จากประสบการณ์


อ้างอิง
นุชลี อุปภัย. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : แม็ทช์พอยท์.


ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.


แสงดาว ทวีสิน. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ไทยเส็ง.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น