หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

4. นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

            สมหญิง เจริญจิตรกรรม (2529:48) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดและการกระทำใหม่ทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

            ขวัญจิต ภิญโญชีพ (2534:18) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดและวิธีการใหม่ๆที่นำมาใช้กับงานด้านการสอน เพื่อแก้ปัญหาการศึกษาและเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้ผลดีที่สุด
            กิดานันท์ มลิทอง (2540:246) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
             บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542:14) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
             สุภากร ราชากรกิจ (2546:28) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การคิดค้น และทดลองหาวิธีการใหม่ๆหรือ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
             จันทร์เพ็ญ เชื้อพาณิช (2549:19) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความใหม่ทางด้านการศึกษา อาจเป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษา เป็นทฤษฎีใหม่ เป็นวิธีสอนใหม่ เทคนิคการสอนใหม่ รวมทั้งการนำเสนอสาระด้วยสื่อใหม่ๆ
              วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:257) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การนำเอาความคิดหรือวิธีปฏิบัติทางการศึกษาใหม่ๆมาใช้กับการศึกษา
              tikkatar (http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ เครื่องมือ สื่อ แนวคิด วิธีการกระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร
              ถวัลย์ มาศจรัส (http://pennapa007.blogspot.com/2008/02/4.html) ได้ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดใหม่ๆ รูปแบบใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้รับการประยุกต์ สร้างสรรค์และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย
              สรุปได้ว่านวัตกรรมทางการศึกษา คือ เครื่องมือ สื่อ แนวคิด วิธีการ กระบวนการ รูปแบบ เทคนิค แนวทาง ผลผลิต และการกระทำใหม่ๆ หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากของเดิม นำมาใช้แก้ปัญหา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้ด้วย


อ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ขวัญจิต ภิญโญชีพ. (2534). หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :


วิทยาลัยครูจันทรเกษม.


จันทร์เพ็ญ เชื้อพาณิช. (2549). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ :


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ถวัลย์ มาศจรัส (http://pennapa007.blogspot.com/2008/02/4.html) .


บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์.


สมหญิง เจริญจิตรกรรม. (2529). เทคโนโลยีทางการศึกษาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม :


มหาวิทยาลัยศิลปากร.


สุภากร ราชากรกิจ. (2546). นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.


tikkatar (http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1) .










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น