หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

1. ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

            นุชลี อุปภัย (2551:133) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ว่า นักจิตวิทยาได้พยายามศึกษาหาคำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเกิดพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ โดยทำการศึกษา ค้นคว้า และ ทดลองจนได้ทฤษฎีที่สามารถอธิบายการเกิดพฤติกรรมต่างๆได้อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามยังไม่มีทฤษฎีใดที่จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกรูปแบบของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ในตัวเอง

            ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2551:38) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ว่าเป็นการศึกษาถึงกระบวนการที่ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้น และสถานการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้นั้น
             แสงเดือน ทวีสิน (2545:130) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างอาจไม่ได้เกิดการเรียนรู้เช่น พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเพราะความเหนื่อยหรือการได้รับบาดเจ็บ วุฒิภาวะสัญชาติญาณ การได้รับสารบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น พฤติกรรมดังกล่าวไม่เรียกว่าการเรียนรู้นักจิตวิทายาส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของประสบการณ์หรือการฝึกหัด ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการก่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยอธิบายคำว่าประสบการณ์หมายถึง เหตุการณ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น การได้ยินเสียง การเห็นภาพ การสัมผัสเป็นต้น
             สรุปได้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นการศึกษาถึงกระบวนการความคิด พฤติกรรม ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ และสถานการณ์ต่างๆจะส่งผลต่อการเรียนรู้ในสิ่งนั้นๆ แต่พฤติกรรมบางอย่างก็อาจไม่เกิดการเรียนรู้ก็ได้ เช่น พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากความเหนื่อยหรือการได้รับบาดเจ็บ สัญชาติญาณ เป็นต้น พฤติกรรมดังกล่าวนี้ไม่เรียกว่าการเรียนรู้


อ้างอิง
นุชลี อุปภัย. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : แม็ทช์พอยท์.


ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.


แสงดาว ทวีสิน. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ไทยเส็ง.










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น